mmm

ยินตีต้อนรับสู่...อีสานบ้านเฮา ภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเขตหรือภาคหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือและตะวันออกของภาค ทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือและภาคกลาง การเกษตรนับเป็นอาชีพหลักของภาค แต่ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ทางด้านสังคมเศรษฐกิจ ทำให้มีผลผลิตที่น้อยกว่าภาคอื่นๆ ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน แต่ภาษาไทยกลางก็นิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมร ที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นอื่นๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช เป็นต้น ภาคอีสานมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร ภาษา ดนตรีหมอลำ และศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น ภาคอีสาน มีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง และภูกระดึงซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น ลำตะคอง แม่น้ำชี แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านอีสาน


ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านอีสาน หรือ ตำรายาฮากไม้ เป็นหนังสือใบลานมีหลายคัมภีร์ด้วยกัน เอิ้นว่า "คัมภีร์อภัยสันดา, คัมภีร์มหาโชตะรส" และ "คัมภีร์ปฐมจินดา" เป็นต้น เป็นของเก่าแก่ซึ่งมีมาแต่โบราณกาล ยาปัวพยาธิทุกชนิดบ่ว่าจะเป็นยาแผนโบราณหรือยาแผนปัจจุบันก็ตาม โดยส่วนหลายแล้วเค้าเดิมแม่นเอามาจากฮากไม้หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้ การออกไปเก็บยาในป่าของคนโบราณนั่นย่อมต้องมีพิธีรีตรองต่างๆ กัน บางคนก็ใช้กล บางคนก็ใช้เวทย์มนต์และคาถา ตลอดจนต้องหาฤกษ์ หายาม เวลาไปเอายา จึงจะสัมฤทธิผล ดังตำรากล่าวไว้ว่า

วันอาทิตย์ยามเช้า
ยามสาย
ยามเที่ยง
ยามค่ำ
พิษยาอยู่ลำต้น
พิษยาอยู่ราก
พิษยาอยู่ใบ
พิษยาอยู่เปลือก
วันจันทร์ยามเช้า
ยามสาย
ยามเที่ยง
ยามค่ำ
พิษยาอยู่ราก
พิษยาอยู่แก่น
พิษยาอยู่ใบ
พิษยาอยู่เปลือก
วันอังคารยามเช้า
ยามสาย
ยามเที่ยง
ยามค่ำ
พิษยาอยู่ใบ
พิษยาอยู่เปลือก
พิษยาอยู่ลำต้น
พิษยาอยู่ราก
วันพุธยามเช้า
ยามสาย
ยามเที่ยง
ยามค่ำ
พิษยาอยู่ราก
พิษยาอยู่ใบ
พิษยาอยู่เปลือก
พิษยาอยู่แก่น
วันพฤหัสบดียามเช้า
ยามสาย
ยามเที่ยง
ยามค่ำ
พิษยาอยู่แก่น
พิษยาอยู่ราก
พิษยาอยู่ใบ
พิษยาอยู่ลำต้น
วันศุกร์ยามเช้า
ยามสาย
ยามเที่ยง
ยามค่ำ
พิษยาอยู่ใบ
พิษยาอยู่ราก
พิษยาอยู่เปลือก
พิษยาอยู่ลำต้น
วันเสาร์ยามเช้า
ยามสาย
ยามเที่ยง
ยามค่ำ
พิษยาอยู่ราก
พิษยาอยู่ลำต้น
พิษยาอยู่ใบ
พิษยาอยู่แก่น


เมื่อไปถึงป่าตามฤกษ์ยามแล้ว ยังจะต้องมีกรรมวิธีในการเอายาอีก เพราะคนโบราณถือว่า สรรพสิ่งใดๆ ในโลกล้วนมีเจ้าของ ต้นไม้ก็มีเทพารักษ์ การจะเก็บยาจึงต้องมีการขอด้วยหลากหลายกรรมวิธีเช่นกัน ดังจะยกตัวอย่างพอสังเขปดังนี้

bl2มนต์ปลุกยาแบบที่ 1
โอม กมฺมะเกมะมะ ว่า 3 เทื่อแล้วให้ทืบต้น 3 เทื่อ จึงว่า มนต์ยามพระยาธรผู้รักษาต้นยา ว่า "โอม ทิพย์พระยาธร ขี่ม้าจรมาจอกพอกๆ ฆ้อนกูจักตอกหัวพระยาธร ขี่ม้าจรลอดเมฆ" ว่า 3 เทื่อ แล้วจึงกล่าวมนต์ปลุกยา ว่า "โอม ขะลุกๆ กูจักปลุกฮากยาก็ตื่น พญายาไปอยู่แห่งอื่นก็ให้เสด็จเข้ามาสู่ต้นไม้อยู่ลีลา เสด็จเข้ามาอยู่ต้นยาอยู่ลีล้าย เชื้อลูกท้าวฝูงหมู่พญายา โอม สวาหับ" ว่า 3 เทื่อ แล้วจึงเอามือสั่นต้นยา 3 เทื่อ แล้ว ขุด หรือ ฟันเอาเทอญ

bl2มนต์ปลุกยาแบบที่ 2
"โอม ทิพมนต์ มนต์เจ้าพญายา พระฤาษีสั่งมาให้กูเอาต้นนี้ไปใส่...... (คนไข้ผู้ชื่อว่า...) ให้ซ่วง ให้เซา โอม สวาหายะ" ว่า 3 เทื่อ แล้วจึงขุด หรือฟันเอาเทอญ

bl2คาถาปลุกต้นยา (อีกแบบหนึ่ง)
"คับปัง คับระงับ คูบาสิทธิยะ ให้กูทงๆ ชินะ สวาหะ" ว่า 3 เทื่อ แล้วจึงขุด หรือฟันเอาเทอญ

bl2พิษณุยา
เป็นการเรียนรู้เพื่อเป็นหมอยา จะต้องมีการแต่งขันธ์ 5 เพื่อการบูชา ประกอบด้วย พานหรือขัน 5 บรรจุ เทียนเล่มบาท 4 เล่ม เทียนน้อย 4 คู่ เทียนกิ่ง 4 คู่ ซวยกลม 4 ซวย ซวยเป 4 ซวย (ซวย=การม้วนใบตองลักษณะเป็นกรวย) ดอกไม้ขาว ซิ่นผืน แพรวา เหล้าก้อง ไข่หน่วย และเงิน 24 บาท
แต่งเครื่องครบแล้วให้ใต้เทียนติดขันธ์ 5 ยกขึ้นใส่หัว แล้วจึงว่า พิษณุยา ดังนี้

โอมสิท   โอมทง   โอมสิท   โอมทง
โอมสิท   โอมทง   กูทงแล้วกูบ่ได้ทงอาสน์
กูทงแล้วกูบ่ได้ประมาทครู   โอมสิท   โอมจับ
โอมสิท   โอมจับ   โอม   พิษณุจับกกยา
โอม   พิษณุจับฮากยา   โอมสิทธิ   โอมจับ
โอม   พิษณุจับ   โอม   พิษณุจับ   โอม   พิษณุจับ

ว่า 3 เทื่อแล      

bl2มนต์ปลุกเศกยา
"โอม ขะลุกๆ พ่อครูกูปลุกๆ ลุกแล้วอย่านั่ง พ่อครูกูสั่นๆ ลุกแล้วอย่านอน โอมสวหายะ" ให้ฝนยาแล้วจึงว่ามนต์ปลุกเศกยานี้ 3 เทื่อ จึงให้กินเทอญ

bl2คาถาปลุกยา (แบบที่ 1)
สกฺกตฺวา พุทฺธรตฺนํ
หิตํ เทวมนุสฺสานํ
นสฺสนฺตุปทฺทวา สพฺเพ
สกฺกตฺวา ธมฺมรตฺนํ
ปริฬาหูปสมนํ
นสฺสนฺตุปทฺทวา สพฺเพ
สกฺกตฺวา สงฺฆรตฺนํ
อาหุเนยฺยํ ปาหุเนยฺยํ
นสฺสนฺตุปทฺทวา สพฺเพ
โอสถํ อุตฺตมํ วรํ
พุทฺธเตเชน โสตฺถินา
ทุกฺขา วูปสเมนฺตุ เต
โอสถํ อุตฺตมํ วรํ
ธมฺมเตเชน โสตฺถินา
ภยา วูปสเมนฺตุ เต
โอสถํ อุตฺตมํ วรํ
สงฺฆเตเชน โสตฺถินา
โรคา วูปสเมนฺตุ เต

(ว่า 3 เทื่อ แล)


            bl2คาถาปลุกเศกยา (แบบที่ 2)
อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย เกสา โลมา นขา
ทนฺตา ตโจ มํสํ นหารู อฏฐิ อฏฐิมิญชํ
วกฺกํ หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ
ปปฺผาสํ อนฺตํ อนฺตคุณํ อุทริยํ กรีสํ
ปิตฺตํ เสมฺหํ ปุพฺโพ โลหิตํ เสโท เมโท
อสฺสุ วสา เขโฬ สิงฺคานิกา ลสิกา มุตฺตํ
มตฺถเกมตฺถลุงฺคํ

(ว่า 3 เทื่อ แล)


หมายเหตุปิดท้าย
            ตำรายาทั้งหมดนี้ เป็นของโบราณ ชื่อเรียกที่ปรากฏเป็นชื่อเรียกตามท้องถิ่น (อุบลราชธานี) ซึ่งอาจจะมีชื่ออื่นๆ แตกต่างออกไปตามแต่ละพื้นฐิ่น คำบางคำก็มีความหมายเป็นการเฉพาะของหมอยาที่เข้าใจกันได้ ซึ่งทางคณะผู้จัดทำไม่อาจอธิบายออกมาให้ชัดเจนกว่านี้ได้ ท่านผู้ใดทราบความหมายที่แน่ชัดโปรดได้ชี้แนะด้วย รวมทั้งชื่อของโรคที่เป็นภาษากลางและสรรพคุณทางยาที่ได้เคยทดลองแล้ว

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

สนุก...อีสาน











วังน้ำเขียว สวิสเซอร์แลนด์แดนอีสาน



           "วังน้ำเขียว" เป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ตอนใต้ของจังหวัดนครราชสีมา สำหรับที่มาของชื่อ "วังน้ำเขียว" นั้น ได้มาจากสภาพภูมิประเทศของที่นี่ เพราะพื้นที่ในแถบนี้มีวังน้ำที่ใสสะอาดงดงามเป็นธรรมชาติ ซึ่งสายน้ำนั้นใสจนมองเห็นเงาสะท้อนสีเขียวของต้นไม้ จึงเรียกพื้นที่นี้ว่า... "วังน้ำเขียว"นั่นเอง 

            อย่างไรก็ตาม ที่วังน้ำเขียวนอกจากจะมีธรรมชาติที่งดงาม อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาวจะมีหมอกปกคลุมหนาแน่น เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า และสภาพอากาศที่เหมาะสมแก่การเจริญของพรรณไม้ที่หลากหลายแล้ว ยังมีน้ำตกที่สวยงามและจุดชมวิว ที่สามารถมองเห็นผืนป่าอุทยานแห่งชาติทับลาน ที่กลับคืนสู่ความสมบูรณ์ของผืนป่าดงพญาไฟในอดีต อีกทั้งยังมีผลไม้นานาชนิดให้เลือกสรร เช่น องุ่น กระท้อน ลิ้นจี่ ลำไยและผลไม้เมืองหนาวอีกมากมาย รวมทั้งยังมีสวนไม้ดอก - ไม้ประดับที่สวยงาม การปลูกผักปลอดสารพิษ และการเพาะเห็ดหอม ซึ่งเป็นจุดดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวในพื้นที่อีกด้วย จึงเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะมาพักผ่อนเพื่อสัมผัสธรรมชาติ พร้อมๆ กับการศึกษาหาความรู้ไปด้วย
 ว่าแล้วเราไปดูพร้อมๆ กันเลยดีกว่าค่ะว่าที่วังน้ำเขียวมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ไหนน่าสนใจและน่าเที่ยวกันบ้าง... 



           เริ่มกันที่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่าง "น้ำตกวังจระเข้"น้ำตกที่สวยที่สุดของ ต.ไทยสามัคคี เพราะเป็นน้ำตกที่ทอดยาว และมีน้ำใสในแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำได้ตลอดทั้งปี น้ำตกแห่งนี้เป็นที่รองรับน้ำจากพื้นป่าอุทยานแห่งชาติทับลาน และเป็นหนึ่งในสายน้ำที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำบางปะกงของภาคตะวันออก บริเวณสองฝั่งของห้วยขมิ้นจะยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติที่ยังมีพื้นป่าอยู่มากมาย ทั้งนี้ ทางเข้าสู่วังน้ำตกเป็นทางเดินเท้า จึงเหมาะแก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินป่า และศึกษาธรรมชาติ 


         ต่อกันที่ "น้ำตกห้วยใหญ่" น้ำตกขนาดใหญ่ สูง 60 เมตร กว้าง 30 เมตร เป็นน้ำตกที่ไหลลงจากคลองห้วยใหญ่ ลักษณะของน้ำตกมีทั้งหมด 5 ชั้น ซึ่งเชื่อมต่อกับน้ำตกสวนห้อมของ ต.วังน้ำเขียว ซึ่งน้ำตกห้วยใหญ่จะมีน้ำมากในช่วงเดือนกรกฎาคม - เดือนตุลาคม สำหรับที่ตั้งจะอยู่ในพื้นที่ ม.6 บ้านห้วยใหญ่ใต้ ต.ไทยสามัคคี ทางไปน้ำตกสามารถใช้เส้นทางจากทางหลวงหมายเลข 304 เมื่อถึงอำเภอวังน้ำเขียว ให้แยกเข้าซอยเทศบาล 4 ที่บริเวณตลาดสดศาลเจ้าพ่อ (ตลาด 79) ตามป้ายบอกทางไปวัดสวนห้อม แล้วเลี้ยวซ้ายตามป้ายบอกทางไปน้ำตกบริเวณอุทยานแห่งชาติทับลาน 3 น้ำตก