เขมรกับไทยมีความสัมพันธ์กันมาช้านาน มีเรื่องเล่าว่า ถ้าไม่มีเขมร คนไทยก็จะหายใจไม่ได้และเดินไปไหนไม่ถูก เพราะคำว่าจมูกและคำว่าเดินมาจากภาษาเขมร ดังนั้น การมีปราสาทหินอารยธรรมขอมมากมายในดินแดนไทยจึงนับเป็นเรื่องปรกติ ไม่มีอะไรแปลกประหลาด
ปราสาทหินนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในอีสาน และมีจำนวนมากมาย ตั้งแต่ใต้สุดของจังหวัดอุบลราชธานี ไปจนถึงเหนือสุดที่พระธาตุนารายณ์เจงเวง จังหวัดสกลนคร ในบรรดาปราสาทหินอารยธรรมขอมจำนวนมากมายเหล่านี้ อาจจำแนกออกได้เป็นสิ่งก่อสร้าง 1 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ ศาสนสถาน ธรรมศาลาหรือบ้านมีไฟที่สร้างไว้เพื่อเป็นที่พำนักของคนเดินทาง และอโรคยศาลาหรือโรงพยาบาล ที่มีแพทย์คือ พราหมณ์ผู้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นหมอ
ปราสาทหินอันเป็นที่รู้จักในภาคอีสานและเป็นสุดยอดในด้านต่างๆ ตัวอย่างเช่น ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทหินทรายสีชมพูบนปากปล่องภูเขาไฟแห่งเมืองบุรีรัมย์ ปราสาทหินพิมาย ปราสาทที่เป็นดังตันแบบแห่งปราสาทหลายแห่งในเมืองเสียมเรียบ ปราสาทตาเมือน ที่มีทั้งอโรคยศาลาและธรรมศาลาครบครัน อยู่ใกล้ๆ ปราสาทหินพนมวัน ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงน้อย และปราสาทศรีขรภูมิ เป็นต้น
และถ้าจะให้ยกปราสาทใดเป็นปราสาทหินสุดยอดอีสาน อ.ส.ท. เราขอยกให้ปราสาทพนมรุ้งเป็นปราสาทหินสุดยอดอีสานของไทย เหตุผลก็คือ สุดยอดทั้งความสวยงามทางด้านศิลปะสถาปัตยกรรม ตลอดจนมีสภาพที่ตั้งที่โดดเด่นท้าทาย คือตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงตามคติจัตรวาล อีกทั้งตัวโบราณสถานก็ได้รับการบูรณะให้มีสภาพดี ให้นักท่องเที่ยวพอได้เห็นค้ารางแห่งความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เป็นการเสริมจินตนาการในการเที่ยวชมได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น