mmm

ยินตีต้อนรับสู่...อีสานบ้านเฮา ภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเขตหรือภาคหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือและตะวันออกของภาค ทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือและภาคกลาง การเกษตรนับเป็นอาชีพหลักของภาค แต่ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ทางด้านสังคมเศรษฐกิจ ทำให้มีผลผลิตที่น้อยกว่าภาคอื่นๆ ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน แต่ภาษาไทยกลางก็นิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมร ที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นอื่นๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช เป็นต้น ภาคอีสานมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร ภาษา ดนตรีหมอลำ และศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น ภาคอีสาน มีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง และภูกระดึงซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น ลำตะคอง แม่น้ำชี แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

ผ้าไหมสุรินทร์

ประวัติความเป็นมา

      จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าไหมมานานและได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมานานจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่น่สนใจยิ่ง  หากศึกษาอย่างลึกซึ่งแล้ว  จะค้นพบเหตุผลหลายประการที่สนับสนุนว่า  จังหวัดสุรินทร์มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองในเรื่องผ้าไหม  ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ   ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการทอ  ไม่ว่าจะเป็นลวดลายของผ้าไหม  การผลิตเส้นไหมน้อย  และกรรมวิธีการทอ

                    จังหวัดสุรินทร์นิยมนำเส้นไหมขั้นหนึ่งหรือไหมน้อย (ภาษาเขมร เรียก “โซกซัก”)  มาใช้ในการทอผ้า  ไหมน้อยจะมีลักษณะเป็นผ้าไหมเส้นเล็ก  เรียบ  นิ่ม  เวลาสวมใส่จะรู้สึกเย็นสบาย  นอกจากนี้การทอผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์  ยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อน  และเป็นกรรมวิธีที่ยาก  ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความชำนาญจริง  เช่น การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัว  ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่า  มีการทอที่เดียวใบประเทศไทย  จนเป็นที่สนพระทัยและเป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ  ทรงรับสั่งว่า  ใส่แล้วเย็นสบาย  อีกทั้งยังใช้ฝีมือในการทออีกด้ว


ลักษณะเด่นของผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์

                1.     มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์  โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกัมพูชา และลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้นล้วนมีที่มาและมีความหมายอันเป็นมงคล 
                2.     นิยมใช้ไหมน้อยในการทอ  ซึ่งไหมน้อยคือไหมที่สาวมาจากเส้นใยภายในรังไหม  มีลักษณะนุ่ม  เรียบ  เงางาม
                3.     นิยมใช้สีธรรมชาติในการทอ  ทำให้มีสีไม่ฉูดฉาด มีสีสันที่มีลักษณะเฉพาะ  คือ สีจะออกโทนสีขรึม  เช่น  น้ำตาล  แดง  เขียว  ดำ  เหลือง  อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมจากเปลือกไม้  
                4.           ฝีมือการทอ  จะทอแน่นมีความละเอียดอ่อนในการทอและประณีต  รู้จักผสมผสานลวดลายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แสดงถึงศิลปที่สวยงามกว่าปกติ5.        แต่เดิมนั้นการทอผ้าไหมของชาวบ้านทำเพื่อไว้ใช้เอง และสวมใส่ในงานทำบุญและงานพิธีต่างๆ 
การทอจะทำหลังจากสิ้นสุดฤดูกาลทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลัก  มิได้มีการทอเพื่อจำหน่ายแต่อย่างใด  จนมีคำกล่าวทั่วไปว่า “พอหมดหน้านา  ผู้หญิงทอผ้า  ผู้ชายตีเหล็ก




             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น